โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 12 เดือน โครงการ TM รอบที่ 1 ประจำปี 2565 โครงการการออกแบบและสร้างเครื่องอบลดความชื้นแบบเกลียวสำหรับสารปรับปรุงดินฮิวมัส โดย ผศ.ดร.ธวัชชัย อุ่นใจจม ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนผลิตสารปรับปรุงดินฮิวมัสล้านปีอินทรีย์แม่เมาะ ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง | กองคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 12 เดือน โครงการ TM รอบที่ 1 ประจำปี 2565 โครงการการออกแบบและสร้างเครื่องอบลดความชื้นแบบเกลียวสำหรับสารปรับปรุงดินฮิวมัส โดย ผศ.ดร.ธวัชชัย อุ่นใจจม ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนผลิตสารปรับปรุงดินฮิวมัสล้านปีอินทรีย์แม่เมาะ ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 17 มกราคม 2567 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 3867 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์วรสันติ์ โสภณ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ นางสาวปอชญา ชุมสุวรรณ นักวิเคราะห์ความร่วมมืออุตสาหกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในการตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Talent Mobility ภายใต้โครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 1 และส่งมอบผลผลิตของการดำเนินงาน โครงการ Talent Mobility รอบ 12 เดือน "โครงการการออกแบบและสร้างเครื่องอบลดความชื้นแบบเกลียวสำหรับสารปรับปรุงดินฮิวมัส" โดย ผศ.ดร.ธวัชชัย อุ่นใจจม ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนผลิตสารปรับปรุงดินฮิวมัสล้านปีอินทรีย์แม่เมาะ ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

ทั้งนี้ ผศ.ดร.ธวัชชัย อุ่นใจจม หัวหน้าโครงการ และนายจิรศักดิ์ ปัญญา อาจารย์ผู้ร่วมโครงการ ได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน กล่าวถึงปัญหาของสถานประกอบการ ที่เข้ามาแก้ไขและลดระยะเวลาในการผึ่งสารปรับปรุงดิน เพื่อลดความชื้นที่เกิดขึ้นกับสารปรับปรุงดินฮิวมัสล้านปีก่อนการบรรจุลงในกระสอบ นักวิจัยและหัวหน้าโครงการจึงได้มีส่วนร่วมเข้าไปศึกษา และออกแบบเครื่องอบลมร้อนเพื่อลดความชื้นแบบเกลียวสำหรับสารปรับปรุงดินฮิวมัส โดยใช้แก๊สหุงต้มในการสร้างความร้อน ให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ที่สามารถลดความชื้นให้กับสารปรับปรุงดินฮิวมัส ส่งผลให้มีกำลังการผลิตมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้นให้กับสถานประกอบการวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย 

นอกจากนี้ นายชินภัทร วงค์เปี้ย กรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ และคณะ ได้ร่วมเข้ารับฟังการรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งพาเยี่ยมชมแหล่งผลิตสารปรับปรุงดินดินฮิวมัสล้านปี ของวิสาหกิจชุมชน (Site Visit) ที่ได้ทำการผลิตสารปรับปรุงดินฮิวมัส
ซึ่งเกิดจากส่วนผสมหลัก 6 ชนิด คือ ดินลีโอนาร์ไดต์ น้ำหมักชีวภาพ ยิปซัม ฟอสเฟต ซีโอไลต์ และโดโลไมต์ ที่ล้วนมาจากธรรมชาติ ทำให้เป็นมิตรต่อผลผลิตทางการเกษตรทุกชนิด ตั้งแต่กระบวนการของการคัดขนาดเพื่อแยกสารปรับปรุงดินฮิวมัสล้านปี ไปจนถึงกระบวนการบรรจุลงในกระสอบ และสาธิตวิธีการใช้และการทำงานของเครื่องอบลดความชื้นแบบเกลียวสำหรับสารปรับปรุงดินฮิวมัสที่นักวิจัยได้ออกแบบและสร้างให้กับวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา